กรมอนามัยผนึกกำลังกับ MQDC เพื่อต่อสู้กับ COVID-19

บริษัท แมกโนเลียควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนต์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทยร่วมกับกรมอนามัยภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (RISC) นำเสนอข้อมูลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ  Covid-19 และทำการนำเสนอบนโลกออนไลน์ในชื่อโปรเจค  “ กระทรวงสาธารณสุขทำงานร่วมกับ MQDC เพื่อต่อสู้กับ COVID-19”

ทั้งสององค์กรได้มารวมตัวกันเป็นโปรเจคครั้งแรกในการจัดการกับ Mixed Use Area หรือบริเวณที่มีการรวมกันของรูปแบบใช้ชีวิตหลากหลายตลอด 24 ชั่วโมง ประกอบด้วยคอนโดมิเนียม ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และสำนักงาน จากการนำเสนอข่าว ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลพื้นที่ทั่วไปและสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง ครอบคลุมทั้งขั้นตอนและการใช้อุปกรณ์สุขอนามัยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและการปฏิบัติของก รมอนามัยขึ้นตรงกับกระทรวงสาธารณสุขภายใต้หัวข้อ “กฎ 3 ข้อ Reduce Avoid and Care หรือ ลด หลีกเลี่ยงและดูแล ”

มาตรการดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงและช่วยปกป้องสุขภาพของผู้อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม พนักงานในสำนักงานและผู้คนในร้านค้าต่างๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตปกติได้อย่างปลอดภัยที่สุดจากการระบาดของ COVID-19

ท่านคีรินทร์ ชูธรรมสถิตย์ ประธานกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการของ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ดีเวล็อปเม้นต์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวถึงมาตรการสำหรับผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมและพื้นที่ให้บริการว่า

“ตลอดระยะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  MQDC ได้ให้ความสำคัญและใส่ใจปฏิบัติตามนโยบายของภาครัฐมาโดยตลอด เรามีความยินดิย่างยิ่งที่กรมอนามัยเห็นว่า MQDC เป็นผู้นำเรื่องสุขภาวะในภาคอสังหาริมทรัพย์ และเลือก MQDC และ RISC ในการสร้างมาตรฐานการจัดการดูแลที่อยู่อาศัยและคอนโดเพื่อให้ทุกคนปลอดภัย มาตรฐานที่ร่วมมือกันครั้งนี้คงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญให้กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต นอกจากการร่วมมือในครั้งนี้แล้ว หากภาครัฐ มีนโยบายอื่น ๆ  เรายินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ด้วยความหวังว่าพวกเราคนไทยทุกคนจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์นี้ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้เราได้ให้ความสำคัญในด้านสุขภาพความปลอดภัยของผู้พักอาศัยในคอนโด พนักงานออฟฟิศ และผู้ใช้บริการในร้านค้าปลีกประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งรวมไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงโครงการที่เราดูแลทั้งหมดกว่า 30 โครงการที่อยู่อาศัย และสำนักงานออฟฟิศ เพื่อให้ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ด้วยความปลอดภัยสูงสุด ภายใต้พันธกิจ “For All Well-Being” ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของกรมอนามัยฯ ซึ่งจากการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เราได้เร่งดำเนินการเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเราได้องค์ความรู้ด้านสุขอนามัยจากศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในการให้ความรู้แก่พนักงานผู้ปฏิบัติงานด้านนิติบุคคลอาคารชุด ตลอดจนพนักงานผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่บริการต่างๆเพื่อเป็นต้นแบบด้านการป้องกันโรคระบาดสำหรับอาคารแบบมิกซ์ยูส”

“ นอกจากนี้ เรายังมุ่งเน้นด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงใน 8 บริเวณ ผ่านระบบคัดกรองอุณหภูมิ เราได้เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค เพิ่มจำนวนเจลแอลกอฮอล์เพื่อให้ผู้คนล้างมือได้อย่างทั่วถึงในพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด อันได้แก่

1. พื้นที่ส่วนกลางของอาคารชุดหรือคอนโดในบริเวณแผนกต้อนรับ

2. ทางเข้าและออกประตูภายในและภายนอกอาคาร

3. ลิฟต์

4. ราวบันไดเลื่อนศูนย์การค้า

5. พื้นที่ทำงานร่วมสำหรับการทำงานและการประชุม

6. ห้องน้ำรวมภายในอาคาร

7. บริเวณสระว่ายน้ำ เตียงอาบแดดและห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า

8. ตู้เก็บของและพื้นที่รับประทานอาหารทั่วไปในศูนย์อาหาร

ทาง MQDC ได้ให้การสาธิตเกี่ยวกับข้อควรระวังในการดูแลตัวเอง เช่น การล้างมือทั้ง 7 ขั้นตอนและการขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดและจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เจลที่ใช้แอลกอฮอล์และหน้ากากผ้าเพื่อส่งเสริมการใช้หน้ากากผ้าให้มากขึ้น และช่วยลดความต้องการหน้ากากซึ่งต้องสงวนไว้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย เรายังให้คำแนะนำในการเลือกวิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสม ในสำนักงานมีการดำเนินนโยบายในการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลโดยส่งเสริมให้พนักงานทำงานจากที่บ้านเพื่อให้หน่วยงานบางแห่งมีส่วนร่วมในการช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคนี้” ท่านคิรินทร์กล่าว

ดร. ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและสุขภาวะ  ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) กล่าวเสริมว่า “ศูนย์ RISC ได้ออกมาตรการป้องกันการติดเชื้อ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ ด้านบุคคลากร ด้านอาคารสถานที่ และด้านการบริการ ขณะนี้ในส่วนของแนวทางการปฏิบัติงานด้านสุขอนามัยนั้น  ทุกส่วนงานของ MQDC ได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างทั่วถึง และได้กระจายกำลังเร่งดำเนินงานตามเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และคุมเข้มทุกพื้นที่เพื่อความปลอดภัยสูงสุด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักซึ่งสามารถสรุปพอสังเขปดังนี้

1.ด้านบุคลากรต้องผ่านการอบรมแนวทางปฏิบัติตนและวิธีการคัดกรองสุขภาพของผู้อาศัย ผู้มาติดต่อ พนักงาน ตลอดจนมีเครื่องป้องกันร่างกายสนับสนุนการทำงาน และสามารถวิเคราะห์ผลและเสนอแนะแนวทางตัดสินใจดำเนินงานด้านสุขภาพตามหลักมาตรฐานสากล กรณีพบกลุ่มเสี่ยง หรือ ผู้ป่วย เพื่อป้องกัน หรือบรรเทาปัญหา

2.ด้านอาคารสถานที่ ต้องดำเนินการกำจัดพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ หรือ ปิดพื้นที่เพื่อสะดวกต่อการบริหารจัดการ มาตรการรักษาระยะห่างที่เหมาะสม จัดระบบระบายอากาศตามหลักสุขภาวะ ตลอดจนจัดแสดงป้ายข้อความอธิบายเพื่อความชัดเจนแก่ผู้ใช้บริการในอาคาร                                     3.การบริการ จัดให้มีอุปกรณ์รองรับ จัดเก็บขยะและทำลาย สิ่งปฎิกูลต่างๆ ตลอดจนลดความเสี่ยงในการติดเชื้อตามหลักสุขภาวะ รวมไปถึงการให้บริการน้ำยาฆ่าเชื้อ เจลล้างมือแอลกอฮอล์ สบู่เหลวต่างๆ ในจุดเสี่ยงที่ใช้บริการร่วมกัน เป็นต้น”